วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

หญ้าชันกาด

ชื่อทั่วไป :     หญ้าชันกาด
ชื่ออื่น :  แขมมน, หญ้าขิง, หญ้าชันอากาศ, หญ้าอ้อน้อย, Torpedo grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Panicum repenns Linn.
ชื่อวงศ์ :       Poaceae (Gramineae )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงหรือเป็นข้องอที่โคน ไม่แตกแขนง ปล้องรูปทรงกระบอก กลวง ข้อเกลี้ยง ลิ้นใบเป็นเยื่อ ยาว 0.4 -1.0 มม. มีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบกว้าง 2-8 มม. ยาว 4-15 ซม. ขอบใบสากเล็กน้อย อาจมีขนที่โคนใบ ดอกช่อแยกแขนง ยาว 3-19 ซม. ช่อดอกย่อย กว้าง 1.0-1.3 มม.ยาว 2.6 -3.0 มม. รูปขอบขนานแกมวงรีถึงรูปใบหอกแกมวงรี บางครั้งอาจมีสีม่วง ปลายแหลมกาบช่อย่อยแผ่นล่าง รูปไข่ยาว 0.6-0.8 มม. ปลายตัดถึงกลมกว้าง กาบช่อย่อยแผ่นบนยาวเท่าๆกับช่อดอกย่อย ดอกย่อยล่างๆเป็นดอกตัวผู้ กาบล่างและกาบบนยาวเท่าๆกัน ดอกย่อยบนๆรูปวงรี กว้าง 0.8-1.1 มม. ยาว 1.7-2.2 มม. สีขาวผิวเกลี้ยงเป็นมัน ปลายแหลมอับเรณูสีส้ม ยาว 1.4-1.7 มม.
ประโยชน์ :
ราก ทำให้ประจำเดือนมาปรกติ ละลายก้อนนิ่ว ขับปัสสาวะ
หัว ตัดฝ้า รักษาโรคตา แก้โรคกาฬเลือด แก้ไข้กาฬ แก้ตับทรุด แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้หนองใน รักษาไตพิการ แก้อาการบวมน้ำ โรคไตและโรคหัวใจ รักษากระเพาะปัสสาวะพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว
เหง้า รักษาประจำเดือนมาไม่ปรกติ ขับปัสสาวะ แก้พิษร้อน แก้ตาฟาง แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้งูกัด แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ แก้ปัสสาวะพิการ แก้พิษไข้ แก้พิษกาฬ แก้ไตพิการหรือกระเพาะปัสสาวะพิการ รักษาโรคตา แก้ทางเดินปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว

การป้องกันกำจัด     
    1. ไถดะเพื่อกลบทำลายหญ้าชันกาดซึ่งมักขึ้นจากไหลตั้งแต่ได้รับฝนแรก แต่หากยัง ขึ้นมาได้อีกอาจต้องไถซ้ำ  หากยังมีหลงเหลืออยู่ให้เก็บทำลายไหลและลำต้นให้หมดขณะที่คราดทำเทือก
    2.  นาหว่านข้าวแห้ง
       - เมื่อเริ่มมีฝนหรือจะเริ่มทำนาโดยการหว่านข้าวแห้ง หรือนาหยอดก็ตาม ควรรอให้หญ้าชันกาดที่งอกจากเมล็ดขึ้นมาพอสมควรก่อนแล้วจึงทำการไถดะ
       - หลังจากนั้นเว้นช่วงให้มีฝนตกและหญ้าชันกาดงอกมาอีกแล้วจึง
ไถแปร
       - และหากจะคราดควรจะทิ้งให้หญ้าชันกาดงอกมาอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงหว่านข้าวแห้งและคราดกลบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น