วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การปลูกผักบุ้งจีน

การปลูกผักบุ้งจีน

                    +ประวิติความเป็นมาผักบุ้ง      
                    +ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักบุ้ง
                    +พันธุ์ผักบุ้ง       
                    +การป้องกันศัตรูพืชของผักบุ้ง
                    +ลักษณะการเจริญเติบโตของผักบุ้ง 
                    +การปลูกผักบุ้ง
                    +การป้องกันโรคในผักบุ้ง 
                    +สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกผักบุ้ง
                    +การดูแลรักษาผักบุ้ง    
                    +การตลาดของผักบุ้ง
                                +ประโยชน์ผักบุ้ง

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเก็บเกี่ยวข้าวโพด l การเก็บรักษาข้าวโพด

การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาข้าวโพด
ข้าวโพดจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อสังเกตุเห็นว่า ฝักข้าวโพดจะแก่จัดและเก็บเกี่ยวได้เมื่อเปลือกหุ้มฝักเริ่มมีสีฟาง  ทางที่ดีควรปล่อยข้าวโพดทิ้งไว้ในแปลงให้แห้งดีเสียก่อน  เพื่อทุ่นเวลาในการตากและสะดวกในการเก็บรักษา โดยเฉลี่ยแล้วข้าวโพดไร่พันธุ์ที่ใช้ปลูกอยู่ในประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน


          ในการเก็บเกี่ยวข้าวโพด ชาวไร่ทั่ว ๆ ไปยังใช้แรงคนเก็บ โดยหักฝักที่แห้งแล้วออกจากต้น แกะเปลือกหุ้มฝักออกหรือจะเอาไว้แกะเปลือกทีหลังก็ได้ การใช้เครื่องทุ่นแรงเก็บเกี่ยวข้าวโพดยังมีน้อยมากในประเทศไทย  ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องมือมีราคาแพง และมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ เพราะพันธุ์ที่ชาวไร่ปลูกมีความสูงของลำต้นและฝักไม่เท่ากัน   นอกจากนั้น ต้นยังหักล้มมากอีกด้วย
          หลังจากเก็บฝักข้าวโพดและปอกเปลือกออกแล้ว   ควรตากฝักไว้ภายในโรงเรือน  หรือทำแคร่เตี้ย ๆ  กลางแจ้ง มีโครงไม้สำหรับใช้แฝกหรือผ้าพลาสติกคลุมเวลาฝนตกได้  ถ้ามีข้าวโพดเป็นจำนวนมากควรสร้างฉางขนาดกว้างพอสมควร  ยกพื้นสูงไม่ต่ำว่า 50 เซนติเมตร  พื้นเป็นไม้ระแนง  ด้านข้างกรุด้วยลวดตาข่ายหรือไม้ระแนงเช่นเดียวกับพื้น ทั้งนี้เพื่อให้ลมโกรกผ่านเข้าออกได้ ด้านบนเป็นหลังคากันฝน
          เมื่อฝักข้าวโพดแห้งดีแล้ว  จึงทำการกะเทาะเมล็ด  ไม่ควรกะเทาะเมล็ดเมื่อความชื้นยังสูงอยู่ จะทำให้เมล็ดแตกมาก เครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพดในปัจจุบัน มีทั้งแบบมือหมุน และแบบที่หมุนด้วยเครื่องยนต์ เครื่องกะเทาะเมล็ดเหล่านี้สร้างในประเทศ ราคาจึงไม่แพงนัก  เครื่องกะเทาะใหญ่ ๆ อาจกะเทาะได้ถึง 1000 ตัน/ชั่วโมง
          เมล็ดที่กะเทาะออกจากฝักแล้ว  ถ้ายังแห้งไม่สนิทควรตากต่อให้แห้ง ก่อนเก็บเข้ากระสอบควรมีความชื้นในเมล็ดไม่เกิน 15% จากนั้นอาจนำไปจำหน่ายหรือเก็บในยุ้งฉางต่อไป  ถ้าจะเก็บไว้นานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ส่วนของเมล็ดที่เอาไว้ทำพันธุ์  ควรคลุกยากันเชื้อรา ออโทโซด์75 หรือ ซีเรแซนเอ็ม ในอัตราประมาณ 1 กรัม/เมล็ดข้าวโพด 1 กิโลกรัม และใช้ยาป้องกัน และกำจัดแมลงดีดีทีผงชนิด 75% ในอัตรา 1 กรัม/เมล็ดข้าวโพด 10 กิโลกรัมคลุกไปด้วย  สำหรับข้าวโพดเมล็ดที่เก็บไว้เลี้ยงสัตว์หรือเก็บไว้จำหน่ายนาน ๆ  ควรรมยาพวกเมทิลโบรไมด์เดือนละครั้ง

โรคของข้าวโพด

โรคของข้าวโพด
โรคข้าวโพด

1. โรคราน้ำค้าง หรือ โรคใบลาย
อาการ     เป็นโรคนี้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของพืช ในระยะของต้นกล้าต้นจะแห้งตาย ไม่ให้ผลผลิตในต้นโตพันธุ์ที่ อ่อนแอต่อโรค สามารถให้ฝักได้ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ บ้างไม่ได้เมล็ดเลย ต้นที่เป็นโรคลักษณะสีใบจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อนเป็นทางยาวจากโคนถึงปลายใบ อาจยาวติดต่อกันหรือขาดเป็นช่วง สามารถเห็นผงสปอร์สีขาว ของเชื้อ สาเหตุตามราอยแผลบนใบในช่วงเช้าที่มีอากาศเย็นและความชื้นสูง ต้นที่มีอาการรุนแรง ส่วนยอดและดอกแตก ออกเป็นพุ่ม ก้านฝักยาวผิดปกติจำนวนฝักมากกว่าปกติแต่ไม่สมบูรณ์ เมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย
สาเหตุ     เกิดจากเชื้อรา ชื่อพีโรโนสเคลอโรสปอรา
การแพร่ระบาด     โรคจะแพร่ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว เป็นช่วงที่อากาศมีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ เชื้อราสร้างสปอร์ปลิวไปตามและเข้าทำลายข้าวโพดต้นปกติได้ต่อไปเรื่อย ๆ และสามารถเข้าทำลายพืชอาศัยชนิดอื่น ได้ เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพง แขม อ้อยเลา หญ้าคาหลวง โดยที่เชื้อสามารถพักตัวในรูปของสปอร์หนาในฤดูปลูกต่อไปได้
การควบคุม   
1. หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงหรือแหล่งที่มีโรคระบาดมาปลูก หรือเป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูปลูกต่อไป
2. หมั่นตรวจดูไร่อยู่เสมอ หากพบต้นใดเริ่มแสดงอาการของโรค ให้จัดการถอนและเผาทำลายทันที เพื่อป้องกัน เชื้อระบาดไปยังต้นอื่น
3. ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก่อนปลูก

2. โรคใบไหม้
อาการ     ระยะเริ่มแรกเป็นแผลจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาแผลขยายออกตามแนวทางยาวของใบ กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาล ในข้าวโพดที่เป็นโรครุนแรงจุดแปลจะขยายรวมตัวกัน กลายเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้แห้งตาย ในที่สุด นอกจากนี้เกิดจุดแผลได้ บนลำต้น กาบใบ ฝัก และเมล็ด
สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราชื่อเฮลมินโทสปอร์เรียม
การแพร่ระบาด     โรคสามารถถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค โดยทางลมและฝน นอกจากนี้พบว่า หญ้าเดือยเป็นพืชอาศัยชนิดหนึ่งของเชื้อรานี้
การควบคุม   
1. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรคมาปลูก
2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เพราะเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค
3. ทำลายพืชอาศัย และเศษซากหลังการเก็บเกี่ยว

3. โรคราสนิม
อาการ     เกิดตุ่มแผลทั้งด้านบนใบและใต้ใบ เริ่มแรกมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ เมื่อแผลแก่ ตุ่มแผลจะแตกออก ภายในมีผงเชื้อราสีสนิมเหล็ก
สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราชื่อ พักซิเนีย
การแพร่ระบาด     ผงสปอร์สีเหล็กสามารถปลิวไปตามลม และอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในดิน ในรูปของ สปอร์ที่มีผนังหนา
การควบคุม     1. หลีกเลี่ยงปลูกข้าวโพดในแหล่งที่มีโรคระบาด
2. เมื่อพบโรคให้เผาทำลาย

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตั๊กแตนโลกัสต้า (Locusta locust)

ตั๊กแตนโลกัสต้า (Locusta Locust)

ขื่อวิทยาศาสตร์ - Locusta migratoria Mani-lensis (Meyen)

วงศ์ - Acrididae

อันดับ - Orthoptera

รูปร่างลักษณะ
เป็นตั๊กแตนขนาดลำตัวปานกลาง ลำตัวจะมีสีน้ำตาลหรือสีเขียวปนเหลือง หนวดสั้นแบบเส้นด้าย ความยาวของลำตัว 6-7 ซม. สำหรับตั๊กแตนตัวอ่อน เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีตัวสีดำ ส่วนหัวโตกว่าลำตัวมาก และมีการลอกคราบ 5-6 ครั้ง ซึ่งการลอกคราบแต่ละครั้งใช้เวลา 5-7 วัน ก่อนเป็นตัวเต็มวัยในรอบ 1 ปี มีการผสมพันธุ์และวางไข่ 3-4 ครั้ง (generation)

ลักษณะการทำลาย

เป็นตั๊กแตนที่สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว การทำลายรุนแรงและมักเคลื่อนย้ายเป็นฝูง ทำความเสียหายพืชผลได้ถึง 100% ในบริเวณที่ตั๊กแตนฝูงนี้ผ่านไป สำหรับตัวเต็มวัยจะบินเคลื่อนย้ายรวมกันเป็นฝูงขยายวงกว้างออกไป เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะระบาดรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดและข้าวฟ่างที่ปลูกใกล้เคียงกับแปลงนา

พืชอาหาร

ได้แก่ข้าวโพด อ้อย ข้าว ข้าวฟ่าง กล้วย มะพร้าว ถั่วเหลือง หม่อน ละหุ่ง ไผ่ ฝ้าย หญ้าขน ยางพารา เป็นต้น

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 3-4 ครั้ง ดังนั้นจะพบตั๊กแตนตัวอ่อนในช่วงต้นฤดูฝน ส่วนการเกิดการระบาดอย่างรุนแรง ประมาณเดือนสิงหาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน โดยตั๊กแตนจะมีการรวมกลุ่มเคลื่อนย้ายเป็นฝูง

ศัตรูธรรมชาติ

ได้แก่เชื้อรา ไส้เดือนฝอย ไร ปลา แมลงวันขน มด ต่อ นก แตนเบียนไข่ Scelio sp.

การป้องกันและกำจัด
แบ่งได้ เป็น 3 วิธี

    โดยวิธีกล โดยใช้เครื่องกับดักตัวอ่อน ได้แก่ ตาข่ายและการใช้ไฟคาดศรีษะ (จับด้วยมือ) เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม
    โดยชีววิธี โดยการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แตนเบียนไข่ Scelio sp. และตัวต่อจะช่วยลดประชากรของตั๊กแตน ให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจ
    การใช้สารเคมี เมื่อเกิดการระบาดอย่างรุนแรงเกินกว่าระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ (ETL)

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แมลงศัตรูข้าวโพด

 แมลงและหนอน ศัตรูของข้าวโพด
สามารถคลิกที่คำอธิบายใต้รูปภาพเพื่อดูการกำจัดและวิธีป้องกันศัตรูของข้าวโพดแต่ละตัวได้
ตั๊กแตนโลกัสต้า (Locusta Locust)
ตั๊กแตนปาทังก้า (Bombay Locust)
หนอนกระทู้ข้าวโพด (Corn Army worm)
หนอนกระทู้หอม (Beet Army worm)
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid)
หนอนเจาะฝักข้าวโพด (Helicoverpa armigera corn)
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Corn Stem borer)
มอดดินข้าวโพด (ground weevil)

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การรดน้ำข้าวโพด l การให้น้ำข้าวโพด

ความต้องการน้ำของข้าวโพด

ความต้องการนํ้าของข้าวโพด
การรดน้ำ หรือ การให้น้ำข้าวโพด จะขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำของข้าวโพดดังต่อไปนี้ คือ
ความต้องการนํ้าของข้าวโพดในระยะต่างๆ ของข้าวโพดไม่เท่ากัน ในระยะแรกๆของการเจริญเติบโตของข้าวโพดต้องการนํ้าไม่มากนัก และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามอายุ และต้องการนํ้าสูงที่สุดในช่วงออกดอกและช่วงระยะต้นของการสร้างเมล็ด หลังจากนั้นการให้น้ำจะค่อยๆ ลดลง ดังนั้น ถ้าขาดน้ำในช่วงออกดอก จะทำให้ผลผลิตลดลงมามาก ต้องคาดคะเนวันปลูกเพื่อไม่ให้ข้าวโพดเจอแล้งตอนออกดอก โดยดูจากข้อมูลการตกและการกระจายของฝนภายในท้องถิ่นจากหลายๆ ปี และติดตามการพยากรณ์อากาศ จะช่วยในการตัดสินใจในการกำหนดระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมได้ดีขึ้น

การใส่ปุ๋ยข้าวโพด

ใส่ปุ๋ยข้าวโพด

การใส่ปุ๋ย
การปลูกข้าวโพดในประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยน้อยมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำ ให้ผลผลิตข้าวโพดตํ่า
และราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งการขาดความรู้ในเรื่องการใส่ปุ๋ยในข้าวโพด จึงทำ ให้ผลผลิตดีขึ้นกว่าไม่ใส่ปุ๋ยปยุ๋ ที่จำเป็น คือ ปุ๋ยไนโตรเจน และ ฟอสฟอรสั ส่วนโปรแตสเซียมนั้นดินในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ขาดโปรแตสเซียม (ยกเว้นในดินทราย)
การใส่ปุ๋ยข้าวโพด

สูตรปุ๋ยและอัตราที่เหมาะสม ในแต่ละท้องถิ่นขึ้นกับการวิเคราะห์ดินและระดับผลผลิตที่ต้องการ
ในทางปฏิบัติเพื่อสะดวก แนะนำ ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 20-20-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่
การใส่ปุ๋ยนั้นถ้าในขณะปลูกจะสะดวกที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงแนะนำ ว่า ควรใส่ปุ๋ยหลังจากดาย
หญ้า ซึ่งระยะนี้ข้าวโพดโตพอสมควรแล้ว พอที่จะคาดคะเนได้ว่าการปลูกข้าวโพดฤดูนี้จะล้มเหลว เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ฝนแล้ง ฯลฯ และอื่นๆ การใส่ปุ๋ยอาจกระทำ โดยการแซะดินให้ห่าง
จากโคนต้นข้าวโพด 1 คืบ ใส่ปุ๋ยแล้วกลบดิน

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

การกำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด

การจำกัดวัชพืชและพรวนดินไปพร้อมๆกัน

การกำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด
ทำได้หลายวิธี เช่น การใช้แรงงานคน การใช้เครื่องมือไถพรวน และการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช
ในการใช้สารเคมีนั้น สารเคมีแต่ละชนิดมีลักษณะการใช้คุณสมบัติในการปราบวัชพืช แลผลตก
ค้างแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนใช้จึงควรอ่านคำ แนะนำ ให้ละเอียด การเลือกใช้สารเคมีชนิดใดขึ้นอยู่กับ
ชนิดของวัชพืชที่ขึ้นอยู่ และชนิดของพืชที่จะปลูกในฤดูถัดไป รวมทั้งราคาของสารเคมีที่ใช้ในไร่ข้าวโพด สารเคมีที่แนะนำ ได้แก่
อาทราซีน

อาหารซีนชนิดผง 80% เป็นสารเคมีที่ใช้ก่อนพืชปลูกงอกควรใช้อัตรา 500 กรัม/ไร่ ถ้าเป็นดิน
เหนียวให้ใช้อัตราสูงกว่านี้ สามารถควบคุมวัชพืชใบกว้างและใบแคบได้ดี แต่จะเป็นพิษต่อใบกว้างบางชนิด เช่น ผักและพืชตระกูลถั่ว ดังนั้น ถ้าปลูกถั่วตามหลังข้าวโพดในฤดูถัดไป ไม่ควรฉีดแปลงข้าวโพดด้วย สารอาทราซีน
อะลาคคลอร์

อะลาคลอร์ เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นวัชพืชปลูกจะงอก ใช้อัตรา 500-1,000 กรัม/ไร่ กำ จัดได้ดี
เฉพาะวัชพืชใบแคบและเป็นพิษต่อข้าวฟ่าง ดังนั้น ถ้าจะปลูกข้าวฟ่างในฤดูถัดไปห้ามฉีดสารชนิดนี้
การใช้สารเคมีกำ จัดวัชพืชจะได้ผลดีถ้าปฏิบัติให้ถูกต้องแต้มีข้อควรระวัง คือ ต้องผสมนํ้าและฉีด
ขณะที่ดินชื้น

การเตรียมดินปลูกข้าวโพด

การเตรียมดิน
 การเตรียมดินปลูกข้าวโพด
วัตถุประสงค์ของการเตรียมดิน
- ผิวดินจะอ่อนตัว และห่อหุ้มเมล็ดข้าวโพดให้ชื้นอยู่เสมอ
- ทำให้ดินมีอากาศถ่ายเทสะดวก
- ทำให้ดินเก็บความชื้นได้ดี
- ทำลายรากเหง้าวัชพืชให้แห้งตาย และฝังกลบซากวัชพืชเดิมให้จมดิน

1. ไถดะด้วยรถแทรกเตอร์ หรือแรงงานสัตว์ 1-2 ครั้ง ให้ลึก8-10 นิ้ว และตากดินไว้ 7-15 วัน
2. ไถแปร อีก 1-2 ครั้ง โดยไถขวางรอยเดิมของไถดะ
3. ปรับผิวดินให้เรียบ และเก็บวัชพืชโดยทำการพรวน การคราด
4. หลังจากนั้น ใช้รถแทรกเตอร์แถกร่องเพื่อเตรียมปลูก โดยจะใช้แรงคนหรือรถแทรกเตอร์ปลูกเลยก็ได้

นอกจากนี้การปลูกข้าวโพดอาจปลูกบนดินที่ไม่ต้องมีการไถพรวนหรือไถพรวนเพียง เพื่อทำ แถว
ปลูกเท่านั้นก็ได้ แต่การปลูกในแปลงที่เตรียมดินแบบนี้จะได้ผลต่อเมื่อการใช้สารเคมีกำ จัดวัชพืชโดยมี
สารเคมีหลัก คือ กรัมม้อกโซนหรือพารารวอท แล้วมีการใช้สารเคมีปราบวัชพืชชนิดอื่นที่เหมาะสมควบ
คู่กันไปด้วย เช่น อาทราซีน, อะลาคลอร์ เป็นต้น การปลูกข้าวโพดแบบไม่มีการไถพรวนนี้จะมีเศษซากพืช คลุมดิน เป็นต้น การปลูกข้าวโพดแบบไม่มีการไถพรวนนี้จะมีเศษซากพืชคลุมดิน สามารถช่วยในการซับนํ้า และอนุรักษ์ความชื้นในดินให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยลดความเสียหายจากการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี ผลดีของการปลูกโดยไม่มีการไถพรวนจะเห็นได้ชัดในพื้นที่ที่มีความลาดเทสูง

ฤดูกาลปลูกข้าวโพด

  
ฤดูปลูกข้าวโพด
          ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่ค่อนข้างทนทานและปลูกง่าย  ในสภาพดินฟ้าอากาศของเมืองไทย ถ้ามีน้ำเพียงพอ  จะสามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดทั้งปี  การปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากน้ำฝนธรรมชาติเพียงอย่างเดียว  ดังนั้น ฤดูปลูกข้าวโพดที่เหมาะสมจึ่งขึ้นอยู่ กับจำนวนน้ำฝนและการกระจายตัวของฝนในแต่ละเดือนนั่นเอง ปกติเฉลี่ยโดยทั่ว ๆ  ไป ฝนจะเริ่มตกมากตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤศจิกายน  และระหว่างสิงหาคม-กันยายน เป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด พันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกกันอยู่ในปัจจุบันมีอายุปานกลาง  คือ ประมาณ ๑๑๐-๑๒๐ วัน  ดังนั้น จึงอาจเลือกปลูกข้าวโพดได้ตามความเหมาะสม  ถ้าปีใดมีฝนตกสม่ำเสมอแต่ต้นปี อาจปลูกข้าวโพดได้ ๒ ครั้ง คือ  ครั้งแรกปลูกในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และครั้งที่สองปลูกระหว่างเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม พวกที่ปลูกต้นฤดูฝนโดยทั่ว ๆ ไป  มักได้ผลิตผลสูงกว่าพวกที่ปลูกปลายฤดูฝน  ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำฝนกำลังพอเหมาะและโรคแมลงรบกวนน้อย  แต่มีข้อยุ่งยากในการเก็บเกี่ยว ไม่สะดวกแก่การตากข้าวโพด  เนื่องจากฝนตกชุก
ฤดูกาลปลูกข้าวโพด
ข้าวโพด เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปีถ้าไม่มีปัญหาเรื่องนํ้า แต่โดยทั่วไปเกษตรกรไทยปลูกข้าวโพด โดยอาศัยนํ้าฝนเป็นหลัก ดังนั้นฤดูปลูกโดยทั่วไปในประเทศไทย มี 2 ฤดู คือ
1. ปลูกต้นฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ขึ้นอยู่กับการตกและการกระจายของ
ฝนในท้องถิ่น เกษตรกรนิยมปลูกข้าวโพดต้นฤดูฝน เนื่องจากได้ผลผลิตสูงกว่า ไม่มีโรครานํ้าค้างระบาด
พันธุ์สุวรรณ 2602 เทียบกับสุวรรณ 1 ทำความเสียหาย รวมทั้งปัญหาวัชพืชรบกวนน้อยกว่าปลูกปลายฤดูฝน แต่จะมีปัญหาจากสารพิษ อะฟลาท้อกซิน
2. ปลูกปลายฤดูฝน เริ่มประมารเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม การปลูกในฤดูปลายฝนนี้ ต้องใช้
พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรครานํ้าค้าง เพราะเป็นฤดูปลูกที่โรครานํ้าค้างระบาดทำ ความเสียหายให้แก่ข้าวโพด
มากอย่างไรก็ตามข้าวโพด ที่เก็บได้จากการปลูกต้นฤดูฝนคุณภาพของเมล็ดตํ่า ทั้งนี้เพราะเมล็ดเก็บ
เกี่ยวที่ความชื้นสูง ทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งสร้างสารพิษ อะฟลาท้อกซิน ทำให้เมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกต้นฤดูฝน มีสารพิษนี้ในปริมารสูง จนก่อให้เกิดปัญหาการรับซื้อจากตลาดต่างประเทศ
ส่วนเมล็ดข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวจากการปลูกปลายฤดูฝน ไม่มีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาท้อกซิน
ถ้ามีก็น้อยเพราะการเก็บเกี่ยวกระทำ ในขณะที่ความชื้นในอากาศตํ่า

พันธุ์ข้าวโพด

  พันธุ์ข้าวโพด ที่ปลูกเพื่อวัตถุประสงค์แต่ละอย่างมีลักษณะไม่เหมือนกัน ส่วนที่ปลูกเพื่อใช้เมล็ดต้องใช้พันธุ์ที่มีผลิตผลของเมล็ดสูง  แต่ส่วนที่ปลูกเพื่อตัดต้นสดไปหมัก  หรือให้สัตว์กินโดยตรง มักจะใช้พันธุ์ที่มีลำต้นสูงหรือพันธุ์ที่มีการแตกกอมาก เพื่อจะได้ปริมาณต้นและใบมาก ส่วนข้าวโพดฝักอ่อนนั้น นิยมใช้พันธุ์ที่มีหลายฝักต่อต้น เช่น ข้าวโพดหวาน

          พันธุ์ข้าวโพด
          ข้าวโพดที่นิยมปลูกกันอยู่ทั่ว ๆ  ไป อาจจำแนกพันธุ์ได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ คือ
          1. ข้าวโพดพันธุ์ลูกผสม (hybrids) นิยมปลูกในประเทศที่วิทยาการทางการเกษตรเจริญมากแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดพวกนี้มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ดี  หรือเปลี่ยนแปรไปตามสิ่งแวดล้อม  เช่น ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเพียงพอ ไม่กำจัดวัชพืช มีน้ำไม่พอ ข้าวโพด  พวกนี้จะให้ผลิตผลไม่ดี นอกจากนั้น การใช้ข้าวโพดลูกผสมจะต้องซื้อเมล็ดใหม่มาปลูกทุกปี   เพราะถ้าใช้เมล็ดเก่าเก็บจากไร่จะกลายพันธุ์ไป ข้าวโพดลูกผสมอาจเป็นพวกลูกผสมเดี่ยว (single  cross) ลูกผสมคู่ (double cross) หรือ ลูกผสมสามทาง    (three-way cross) ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่จำนวนสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นลูกผสมเดี่ยวก็มีสายพันธุ์ 2 สายพันธุ์  (สายพันธุ์ ก x สายพันธุ์ ข) ลูกผสมคู่มี 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ ก x  สายพันธุ์ ข) x (สายพันธุ์ ค x สายพันธุ์  ง) และลูกผสมสามทางมี 3  สายพันธุ์ (สายพันธุ์ ก  x สายพันธุ์ ข) x สายพันธุ์ ค ลูกผสมเดี่ยวโดยทั่วไป จะให้ผลิตผลสูงที่สุด แต่มีข้อเสียตรงที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตเมล็ดพันธุ์สูง

          2. พันธุ์ผสมปล่อย (open-pollinated  variety) 
พันธุ์ข้าวโพดชนิดนี้  หากได้รับการปรับปรุงพันธุ์อย่างดี อาจให้ผลิตผลได้ไม่แพ้พันธุ์ลูกผสม นอกจากนั้น พันธุ์นี้ยังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง  แม้ดินฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปรไป ก็ยังให้ผลิตผลพอใช้ได้ นอกจากนั้น ชาวไร่ยังสามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 2-3 ปี หรือถ้ารู้จักคัดเลือกพันธุ์เอง  อาจไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่อีกก็ได้ พันธุ์ข้าวโพดพวกนี้ อาจแยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
          (1) พันธุ์ผสมรวม (composite) เป็นการรวมพันธุ์  หรือสายพันธุ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน วิธีรวมง่าย ๆ ก็โดยเอาเมล็ดจำนวนเท่า ๆ กันจากแต่ละพันธุ์หรือสายพันธุ์มารวมกันเข้า แล้วนำไปปลูกในแปลงอิสระห่างไกลจากข้าวโพดพันธุ์อื่น ๆ   ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติแล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดไว้ปลูกเป็นพันธุ์ต่อไป
          (2) พันธุ์สังเคราะห์  (synthetics)
  เป็นพันธุ์ที่ได้จากการรวมสายพันธุ์ที่ได้รับการทดสอบการรวมตัว  (combining ability) มาแล้ว  วิธีการรวมสายพันธุ์อาจทำได้เช่นเดียวกับพันธุ์ผสมรวม

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ความเชื่อเกี่ยวกับมะนาว

ความเชื่อเกี่ยวกับมะนาว

         ความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวไว้ว่า มะนาวเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนด ปลูกทางทิศตะวันตกเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านจะได้มีความสุขสวัสดี ในบางตำราเล่าว่าเป็นความเชื่อ ของคนบ้านป่าสมัยก่อน ก่อนผ่านป่าละเมาะผ่านดงจะพกมะนาวหรือมะกรูดติดตัวไปด้วย เพื่อใช้ป้ายจมูกโค กระบือ เพื่อดับกลิ่นสาบเสือ เนื่องจากเวลาโค กระบือ ได้กลิ่นสาบเสือแล้วจะไม่ยอมเดินต่อ

ประโยชน์ของมะนาว

ประโยชน์ของมะนาวมีมากมายหลายอย่าง ขอจำแนกไปทีละอย่งดังต่อไปนี้เอย

          1. แก้เลือดออกตามไรฟัน - เกิดจากการขาดวิตามินซี ทำให้เหงือกบวมและมีเลือดออกตามไรฟันเป็นประจำ หรือมีเลือดออกได้ง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล มีจุดพรายย้ำขึ้นตามผิวหนัง อาจมีเลือดออกจนซีดได้ ถ้าอาการรุนแรง จะมีอาการปวดน่อง ข้อเท้าบวม การรักษาให้กินมะนาวหรือผลไม้เปรี้ยวๆ เช่น ส้ม จะแก้ได้ - แก้โรคลักปิดลักเปิดหรือเลือดออกตามไรฟัน ใช้มะนาวถูฟันสักพักเลือดก็จะหยุด
          2. ต่อมทอนซิลอักเสบ เอาน้ำมะนาว น้ำผึ้งและปูนขาวผสมดื่ม แก้ทอนซิลอักเสบ
          3.แก้ซาง,ตุ่มในคอเด็ก,เสมหะ - เมล็ดมะนาวขับเสมหะแก้โรคซางของเด็ก แก้เม็ดยอดในปากโดยเอาเม็ดมะนาวเผาไฟ บดให้ละเอียด ใช้น้ำมะนาวหรือรากของมะนาวฝนกันน้ำเป็นกระสาย ผสมเข้าด้วยกัน แล้วกวาดซางเด็ก - ให้เอาน้ำมะนาว 1 ช้อนชา แล้วเอารากมะนาวฝนให้ข้นดี แล้วจึงเอาไปล้วงคอเด็กสัก 2-3 ครั้งก็หาย - ใช้เม็ดมะนาวเคี้ยวกิน ขับเสมหะ ใช้ติดต่อกัน 7 วัน ได้ผลดี
          4. แก้เสียงแหบแห้ง - มะนาวทำให้เสียงไม่แหบแห้ง ตื่นตอนตอนเช้าทุกครั้งให้ผ่ามะนาวครึ่งหนึ่ง จิ้มเกลือบีบน้ำลงคอกลืนกิน ทำทุกเช้าทุกวัน ทำให้เสียงไม่แหบแห้ง
          5. ก้างติดคอ - เมื่อก้างปลาติดคอ เอามะนาว 1 ลูกคั้น เอาแต่น้ำ เติมเกลือ น้ำตาลนิดหน่อยกรอกลงไปให้ตรงก้างที่ติดคอ อมไว้สักครู่ แล้วจึงค่อยกลืน ก้างจะอ่อนตัวหลุดลงไปในกระเพาะ - ก้างปลาติดคอซึ่งเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อกลืนน้ำลายจะทำให้รำคาญเท่านั้น ให้ผ่ามะนาวแล้วนำมาอมไว้ในปาก อมจนรู้สึกรสเปรี้ยวของมะนาวเจือจางสัก 2-3 หน จะทำให้ก้างหลุดออกไปได้
          6. แก้ไข้ - นำใบมะนาวมาหั่นฝอยๆ ชงด้วยน้ำเดือด ดื่มแบบน้ำชาจะช่วยลดไข้และใช้อมกลั้วคอฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วย - ประเทศในทวีปอาฟริกาตะวันตกนิยมใช้เปลือกรากมะนาวต้มเป็นยาแก้ไข้อย่างดี และใช้ใบทำเป็นยาชงกินแก้ไข้ที่มีอาการตัวเหลืองเล็กน้อย นอกจากนี้ยังใช้น้ำมะนาวดื่มแก้กระหายน้ำ แก้ไข้อีกด้วย - ที่ประเทศอินเดีย ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ นิยมรักษาโดยดื่มน้ำมะนาวแล้วพักผ่อน ถ้าเป็นไข้หวัดธรรมดา จะรับประทานผลอินทผลัมและดื่มน้ำมะนาวรักษา
          7. แก้ไข้ทับระดู เอาใบมะนาว 100 ใบ มาต้มกินแล้วหาย
          8. แก้ปวดศีรษะ - เอามะนาวมาฝานเป็นซีกบางๆ แล้วเอาปูนที่กินกับหมาก ละเลงด้านหน้าของซีกมะนาวนั้นบางๆ แล้วปิดตรงขมับ ทำอยู่ประมาณ 2 อาทิตย์ อาการปวดก็ค่อยหายดีขึ้นทุกวัน - ใช้น้ำมะนาวผสมกับน้ำตาลสัก 1 แก้ว ดื่มตอนเช้า ช่วยให้หายจากโรควิงเวียนและปวดหัว - ชาวมาเลเซีย ใช้ใบมะนาวผสมกับน้ำมะนาว บดทำเป็นยาใส่ผมแก้ปวดศีรษะ - ประเทศในทวีปอาฟริกาตะวันตก ใช้ใบมะนาวตำให้ละเอียดถูศีรษะหรือเคี้ยวรากมะนาวแก้ปวดศีรษะ
            9. แก้ไอออกเลือด (ไอมีเลือดปน)
    ใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา มะนาว 4 ลูก เกลือ 1 ช้อน หรือประมาณ 3-4 เม็ด ผสมให้เข้ากันดี ให้มีรสเปรี้ยวเค็มหวาน ใช้จิบทุกครั้งที่ไอ
    ใช้มะนาว 108 ใบ เบี้ยจั๊กจั่น 11 ตัว ปูนขาวหนักประมาณ 4 บาท
         วิธีทำ คั้นน้ำมะนาว ใส่เบี้ยจั๊กจั่นและปูนขาวปนกัน ดองประมาณ 3 คืน รับประทานครั้งละจอกชา แก้ไอออกเลือดดี
          10. แก้เหงือกบวม ใช้ลำสีชุบมะนาวเช็ดที่เหงือกวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
          11. แก้ลิ้นเป็นฝ้า ใช้ลำสีชุบมะนาวเช็ดที่ลิ้นวันละ 3ครั้ง
          12. ขจัดคราบบุหรี่ ใช้มะนาวถูฟันที่มีคราบบุหรี่จับ เมื่อใช้มะนาวถู คราบนั้นจะหาย ถ้าฟันผู้ที่รับประทานหมากต้องถูกบ่อยๆ ถ้าจับมากหลายวันแล้วต้องถอดฟันแช่น้ำมะนาวไว้ค้างคืน (หมายถึงผู้ใส่ฟันปลอมนะ) ฟันจะขาวสะอาดเงางาม
          13. ยาบ้วนปาก บีบน้ำมะนาวลงในแก้วสัก 2-3 หยดเท่านั้น บ้วนปากได้สะอาดยอดเยี่ยม

          14. แก้เป็นลมวิงเวียน อยากอาเจียน - ใช้มะนาวผ่าซีก โรยเกลือป่น เหยาะน้ำตาลทรายขาวสักนิดบีบกินลงไปพักเดียวหายเป็นปลิดทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้จากการตั้งครรภ์ เมารถ แพ้อากาศ มะนาวช่วยคุณได้ - ใช้มะนาวจิ้มเกลืออมไว้ในปากสักครูจะรู้สึกสดชื่นจากการเป็นลมวิงเวียน หน้ามืดได้ - ใช้เปลือกมะนาวแกะออกแล้วบีบหรือดมใกล้จมูก แก้เป็นลม วิงเวียน หน้ามืดตาลาย - ด้านประเทศฟิลิปปินส์และประเทศจีน ใช้เปลือกลูกมะนาวขยี้ใก้ดมแก้คลื่นไส้หรือเป็นลม หมอพื้นเมืองชาวอินเดีย นิยมใช้น้ำมะนาวแก้อาเจียน
          15. แก้วิงเวียนเมื่อคลอดบุตร - เอามะนาวปอกใส่ภาชนะ 2-3 ลูก เพื่อให้คนที่คลอดบุตรนั้นกินแก้วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย - เอามะนาว 3 ผล เกลือป่นและพริกไทยป่นพอควร ละลายด้วยน้ำร้อน แทรกเหล้าโรงประทาณให้ได้สักครึ่งถ้วยชา เวลาตกฟากรับประทาน 1 ครั้ง หรือรับประทาณต่อไปอีกก็ได้ 16. แก้เมาเหล้า เมายา - ดื่มน้ำมะนาวหรืออมกับเกลือ สำหรับคนเมาเหล้าหรือวิงเวียนจะเป็นลม
          17. แก้ลมเงียบ เอาใบมะนาวมาต้มกินกับยาหอมประมาณ 1 อาทิตย์
          18. แก้ตาแดง เอามะนาวผ่า แล้วเอาเมล็ดในออกให้หมด แล้วก็บีบเอาน้ำมะนาวหยอดลงในตกทั้ง 2 ข้างหลายๆหยด สัก 1-2 นาที พอหายแสบแล้วล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด เช็ดหน้าเรียบร้อยแล้วก็สบาย และใช้มะนาวต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะหายตาแดง
          19. บำรุงตา ใช้มะนาวสดทั้งลูกฝานตามที่เห็นสมควร แล้วบีบใส่ตาประจำ ประมาณเดือนหรือสองเดือนครั้งก็ใช้ได้ (เนื่องจากตาเป็นอวันวะที่บอบบางมาก และน้ำมะนาวนั้นหยอดลงไปแล้วจะรู้สึกแสบตา ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจึงไม่ควรใช้น้ำมะนาวนี้หยอดตา)
          20. บำรุงผิว เอาเปลือกที่บีบเอาน้ำออกแล้ว นำมาทาบริเวณข้อศอก คาง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า ช่วยให้ส่วนเหล่านั้นนุ่มนวลได้อย่างดี                                   
          21. แก้ผิวแตก ใช้มะนาวทาผิวหนังทำให้ชุ่มชื้น ไม่แตกกร้านในช่วงอากาศแห้ง

          22. แก้สิวฝ้า - ในกรณีที่สิวไม่มีการอักเสบติดเชื้อเป็นหนอง การรักษาอย่างง่ายที่ถูกวิธี คือ การทำความสะอาดใบหน้า เพื่อลดไขมันและกำจัดสิ่งอุดตันตามรูขุมขนบนใบหน้า หรือบริเวณอก คอ ที่มีสิวขึ้น ฉะนั้นมะนาวจะช่วยรักษาสิงให้ลดน้อยลงได้ เพราะน้ำมะนาวมีสภาวะเป็นกรดอ่อนๆ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ตามแล้วหลุกออกไป ทำให้ลดการอุดตันของรูขุมขน กรดอ่อนๆจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยกำจัดไขมันได้บ้าง วิธีใช้ คือ ล้างหน้าด้วยสบู่ธรรมดาให้สะอาด แล้วผ่ามะนาวทาบริเวณที่มีสิวขึ้นให้เปียกชุ่มจนทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จึงล้างออกด้วยสบู่อีกครั้ง ทำเช่นนี้วันละ 1-2 ครั้ง เช้าและเย็น - ใช้แป้งดินสอพองกับน้ำมะนาวทาบริเวณที่เป็นสิวก่อนนอนทุกวัน สิวจะค่อยๆยุบหายไปในที่สุด - ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ไข่ขาว 1 ช้อนชา ผสมกันให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเอาไปแต้มที่ตุ่มสิว หรือผู้ที่ไม่มีสิว ใช้ทาบางๆทั่วไปประมาณ 30 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสบู่ หน้าจะนิ่มนวลอยู่เสมอ
          23. ลบรอยแผลเป็น รอยแผลเป็นจากอุบัติเหตุ ใช้น้ำมะนาวผสมดินสอพองทาบริเวณที่เป็น ทำให้หน้าไม่ดำ หรืออาจใช้ใบมะลิสดตำผสมเพิ่มเข้าไปอีกก็ได้
          24. แก้ขาลาย คนที่มีขาลายเป็นจุดด่างดำเม็ดเล็กๆนั้น แก้ได้โดยเอาน้ำมะนาวบีบใส่ดินสิพองหมาดๆ แล้วทาทุกๆคืนก่อนนอน พอรุ่งเช้าก็ล้างออก ทำอย่างนี้ทุกวัน ไม่นานวันรอยด่างดำก็ลบหายไปเอง
          25. แก้น้ำเหลืองเสีย ใช้ใบมะนาว 108 ใบกับเกลือหรือดีเกลือ 2 บาท หรือประมาณ 3 ช้อนคาวรวมกัน ต้มรับประทานเป็นยาระบายถ่ายน้ำเหลืองเสีย รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้วกลาง วันละ 1 ครั้งก่อนเข้านอน
          26. แก้ส้นเท้าแตก เอามะนาวสดผ่าซีกแล้วบีบมะนาวให้หยดลงบนบริเวณที่เป็นแผลนั้น เพียงวันละ 2-3 ครั้ ภายใน 7 วัน โรคส้นเท้าแตกจะหายไปเอง
          27. ดับกลิ่นเต่า ใช้น้ำมะนาวทารักแร้ป้องกันกลิ่นเต่า
          28. แก้โรคผิวหนัง ประเทศแถบทวีปอาฟริกาตะวันตกและประเทศอินเดีย ใช้น้ำมะนาวทาแก้โรคผิวหนัง แต่ของอินเดีย เวลาอาบน้ำ ห้ามฟอกสบู่บริเวณที่เป็น
          29. แก้กลาก เกลื้อน หิด - นำกำมะถันตำให้ละเอียดบีบมะนาวใส่พอสมควร ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อนหลังอาบน้ำและก่อนนอน เคยใช้กับญาติโยมหลายราย ผลออกมาแล้วหายเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ - ใช้มะนาวผ่าซีกแตะผงกำมะถันแล้วมาถูบริเวณที่เป็นหิด กลากเกลื้อนจะกายในเร็ววัน
          30. แก้หูด เอาเปลือกมะนาวหมักกับน้ำส้มสายชู 2 วัน ตัดเปลือมะนาวมาปิดที่หูด ปิดทับด้วยพลาสเตอร์ค้างคืนไว้ รุ่งเช้าจึงเอาออก ให้ทำเช่นนี้นาน 2 อาทิตย์
          31. แก้พุพอง ใช้รากมะนาวฝนกับน้ำซาวข้าว ทาแก้พุพอง แสบร้อน
          32. แก้น้ำกัดเท้า ใช้มะนาวทาที่เป็นตุ่มคัน น้ำกัดเท้า ทาแล้วทิ้งให้แห้ง ล้างออกด้วยน้ำสบู่ ให้ผ้าเช็ดให้แห้ง แล้วเอาแป้งทา ตุ่มคันก็จะหาย
          33. แก้ปูนซีเมนต์กัด เวลาถูกปูนซีเมนต์กัดตามมือ เท้า เอามะนาวมาตัดกลางลูก แล้วบีบน้ำมะนาวตรงที่ปูนกัดก็จะหาย
          34. แก้คัน - ใช้มะนาวตัดกลางลูกรมไฟพออุ่น ถูทาตามที่คันภายใน 2-3 วัน จะหาย - เรื่องแก้คันนี้ในประเทศอินเดีย ใช้มะนาวผสมน้ำผึ้ง ทาบริเวณที่คันและเวลาอาบน้ำ อย่าฟอกสบู่บริเวณที่คัน ใช้ทาทุกครั้งเมื่อรู้สึกคัน
          35. แก้หนอนคัน แถวชนบทมีตัวหนอนหลายชนิด เมื่อเราไปถูกมันเข้าจะทำให้เนื้อตรงบริเวณนั้นคันมาก ถึงกับเน่าเปื่อยก็มี ถ้าไปถูกตัวหนอนแล้วคันแต่ยังไม่เปื่อยเป็นแผล ให้เอามะนาวผ่าซีกถูตรงที่คันนั้น แต่ถ้าเปื่อยเป็นแผลแล้ว ให้เอาบานไม่รู้โรยมาตำกับปูนที่กินกับหมากผสมน้ำเล็กน้อย ทาตรงแผยเปื่อยรับรองหาย
          36. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย - ใช้ระงับความเจ็บปวดจากพิษแมลงได้ โดยใช้มะนาวพอกบริเวณปากแผลทิ้งไว้ 2-3 นาทีแล้วเปลี่ยนใหม่ทำดูจะหายปวด - ในประเทศจีน ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่ถูกตะขาบกัด แมลงป่องต่อยทันทีจะแก้ได้
          37. แก้สังคัง ใช้มะนาวผ่าซีก ทาก่อนนอนและหลังตื่นนอน เพียงไม่กี่วันก็หาย
          38. ใช้สระผม แก้คันศีรษะ - ใช้น้ำมะนาวสระผมทำให้ผมสะอาด หอม - ถ้าคันศีรษะบ่อย ใช้น้ำมะนาวนวดศีรษะให้ทั่วสักครู่ก่อนสระผมจะแก้ได้
          39. แก้หัวโน ใช้แป้งดินสอพองผสมน้ำมะนาว ทาตรงที่ช้ำบวมสักพักใหญ่ๆ อาการปวดบวม ปูด ก็จะยุบ หมั่นทาวันละ 1-2 ครั้ง ภายใน 2 วันก็จะหายไปเอง
          40. แก้ผิวหนังฟกช้ำ ผสมน้ำมะนาวกับดินสอพองข้นๆ ทาบริเวณที่มีอาการผิวเนื้อถูกกระแทกเขียวฟกช้ำ หรือบวมโน จะหายเป็นปกติ                  
          41.แก้หนามปัก แก้หนามปักคา ใช้มะนาวกับน้ำมันตับปลา ใส่ที่แผลจะดูดหนามออกมาได้
          42. แก้เล็บขบ เอามะนาวมาผ่าตรงส่วนหัวออกขนาดพอสอดนิ้วเข้าไปได้ ใช้มีดคว้านเอาเนื้อข้างในออกเล็กน้อย เสร็จแล้วเอาปูนทาบางๆ แล้วเอานิ้วสอดเข้าไป แล้วทิ้งไว้ ทำดังนี้ 2-3 ครั้ง อาการเล็บขบจะหายไป
          43. แก้ปลาดุกยัก ใช้มะนาวผ่าซีกแล้วกดหรือถูครงรอยปลาดุกยักสักพักหนึ่ง จะหายปวดภายใน 4-5นาที
          44. แก้งูกัด แก้งูกัดให้ปฏิบัติดังนี้
1. ให้คนเจ็บนอนราบๆ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายช้าลง และพิษงูจะได้แผ่ซ่านช้าลงด้วย
2. ถ้าถูกงูพิษกัดที่แขนและขา ให้เอาเชือกรัดเหนือแผลหน่อย กะให้รัดอยู่ในระหว่างแผลกับหัวใจของคนเจ็บ การรัดให้รัดพอให้เลือดตรงผิวหนังนั้นหยุดไหล เพื่อกันไม่ให้พิษผ่านเข้าเส้นโลหิตดำเท่านั้น ไม่ต้องรัดแน่นมากจนหลอกเลือดที่อยู่ลึกลงไปพลอยหยุดไหลไปด้วย ถ้ารัดพอดีๆจะสังเกตเห็นน้ำเหลืองไหลซึมออกจากแผลอยู่เรื่อยๆ
3. ใช้ใบมีดโกนที่สะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว กรีดลงบนแผลเป็นรูปกากบาท ลึกสัก 1 ใน 8 นิ้ว ยาว สัก 1 ใน 4 นิ้ว ทั้ง 2 เขี้ยว อย่าตกใจว่าจะเสียเลือด เพราะมันจะช่วยล้างพิษออกด้วย ให้ใช้ปากดูดพิษออกมาจากแผลที่กรีด พิษงูจะไม่เป็นอันตรายเมื่อเข้าไปอยุ่ในปาก นอกจากจะมีแผลในปากหรือฟันผุเท่านั้น เมื่อดูดพิษออกมาให้รีบบ้วนทิ้ง แล้ววางน้ำแข็งที่แผลสลับกับการดูดช่วยด้วย และระวังให้แขน ขาที่ถูกงูกัดให้อยู่ต่ำๆไว้ หมายเหตุ ถ้าฟันผุหรือมีแผลในปาก ใช้ขวดอุ่นให้ร้อน (ระวังแตก) เอาปากขวดทาบกับแผล เพื่อช่วยดูดเลือดออกจากแผลแทน
4. ให้กินน้ำมะนาว ขนาดผลโตๆสัก 1 ผล น้ำมะนาวจะไปทำปฏิกิริยากับพิษงูที่แล่นเข้าสู่กระเพาะอาหาร สักครูก็จะอาเจียนออกมา มีเลือดปนเล้กน้อย ซึ่งแสดงว่าพิษงูได้หมดฤทธิ์แล้ว 5.คนเจ็บจะเกิดความมั่นใจและค่อยหายกลัว ให้เขาดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มร้อนๆได้ แต่อย่าให้กินเหล้า พิษงูมันเดินเข้าหัวใจอย่างช้าๆ แต่หลังจากที่ถูกงูกัด อาจปวดมากจนถึงกับช็อค ให้คนเจ็บอยู่เงียบๆ เพราะถ้าไปทำอะไรเข้า จะเป็นการเร่งพิษเดินทางเข้าสู่หัวใจเร็วเข้าอีก ให้ใช้น้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำแข็งวางที่แผล จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้ และรีบนำส่งรักษาที่โรงพยาบาล
          45. ป้องกันงู เมื่อใช้มะนาวคั้นเอาน้ำหมดแล้ว เอาเปลือกวางท้องเอาไว้ใกล้ๆที่นอน จะทำให้งูไม่มารบกวน เพราะได้กลิ่นมะนาว
          46. แก้แมงคาเรืองเข้าหู นำน้ำมะนาวอย่างเดียว กรองด้วยผ้า ใช้หยอดหู แก้แมงคาเรืองเข้าหู ถ้าตัวยังไม่ตายจะหนีออกมา ถ้าไม่หนีออกมาตัวจะตายในหู
          47. แก้ฝี - แก้ปวดฝีใช้รากสดฝนกับเหล้าทา - ขูดเอาผิวมะนาว ผสมกับปูนแดงปิด ฝีจะหาย
          48. แก้ฝีมะตอย เอามะนาวทั้งลูก มาคว้านไส้ในออกให้เอานิ้วเข้าไปได้ แล้วเอาปูน(กินหมาก)ทาเข้าไปในลูกมะนาวเล็กน้อย แล้วสวมเข้านิ้วที่มีฝีขึ้น
          49. แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ให้เอาน้ำมะนาวมาชะโลมบริเวณที่ถูกไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก มีสรรพคุณดับพิษปวดแสบแวดร้อนได้ผล
          50. แก้บาดทะยัก เมื่อดถูตะปูตำ หนามเกี่ยว หรือถูกของที่มีคม เอาน้ำมะนาวบีบใส่แผลที่เป็น จะป้องกันบาดทะยักได้
          51. แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ - แก้อาการปวดท้อง แน่นท้อง เอาผลมะนาวครึ่งผล บีบเอาน้ำมะนาวใช้กินกับน้ำอ้อย หรือน้ำตาล แก้อาการนี้ได้ - เด็กท้องอืดร้องกวนในเวลากลางคืน เอาปูนเคี้ยวหมากขยี้ลงบนฝ่ามือ บีบน้ำมะนาวคลุกให้ทั่ว แล้วทาท้องด็ก สักครู่เด็กจะผายลม 2-3 ครั้ง แล้วหยุกร้องไห้ หลับสบายตลอดคืน เพราะน้ำมะนาวทำปฏิกิริยากับปูน ให้ความร้อนเกิดความอบอุ่น
          52. รักษาโรคกระเพาะ เปลือกผลมะนาว ใช้ชงกับน้ำอุ่ม ดื่มเป็นยาขับลมและแก้โรคกระเพาะได้

          53. แก้ท้องผูก ใช้มะนาว ประมาณค่อนแก้วกาแฟ ใส่เกลือเล็กน้อย ให้เค็มพอประมาณ ดื่มทุกวันเป็นยาระบายได้ดี ทำให้เจริญอาหาร
          54. แก้ท้องร่วง ประเทศอินเดีย ใช้น้ำมะนาวกับน้ำสะอาดดื่มแก้ท้องร่วง
          55. แก้อาหารเป็นพิษ น้ำมะนาว น้ำปูนใส เติมเกลือให้มีรสเค็ม กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ แก้อาหารเป็นพิษ
          56. แก้ผิดสำแลง - รากมะนาว ฝนกับน้ำซาวข้าวรับประทานแก้ผิดอาหาร ถ้าได้รากมะนาวหวานยิ่งดี - เอามะนาวบีบเอาน้ำใส่ถ้วย แล้วเอาปูนกินหมากมาแช่น้ำ แล้วเอาน้ำใสๆของปูนมาผสมน้ำมะนาว แล้วรับประทานแก้กินของผิดได้เป็นอย่างดี
          57. แก้บิด - ใช้มะนาวกับน้ำผึ้งเอาเท่าๆกัน กินครั้งละ 1 ถ้วยตะไล สัก 2-3 ถ้วย แก้บิดได้ หรือจะผสมน้ำปูนใส อย่างละเท่าๆกัน ก็ได้ผลเช่นกัน - ชาวมาเลเซียใช้รากมะนาวต้มกินแก้บิด
          58. ขับพยาธิไส้เดือน ชาวอินเดียใช้น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งดื่มขับพยาธิไส้เดือน
          59. แก้นิ่ว เอามะนาวมา บีบมะนาวแช่หินปูน หากหินปูนละลาย ก็เอารากมะนาวนั้นมาต้มกิน แล้วนิ่วก็คือหินปูนในกระเพาะปัสสาวะจะอยู่ได้อย่างไรก็ต้องละลายออกมาหมดอย่างแน่นอน หากนิ่วก้อนใหญ่ก็ต้องใช้เวลาหน่อย
          60. แก้ปัสสาวะกระปริบกระปรอย ใช้ใบมะนาวสดต้มกินกับน้ำตาลแดง ประมาณ 2-3 วันก็หาย
          61. แก้ระดูขาว น้ำมะนาว 2 ช้อน เกลือ น้ำตาลนิดหน่อย ผสมน้ำสุก ใส่น้ำแข็งรับประทานแก้และรักษาสตรีมีระดูขาวมากๆ
          62. ฟอกโลหิต ใช้ใบมะนาว 7 ใบ ต้มผสมกับน้ำ กินครั้งละ 3 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา ได้ผลดี
          63. แก้โลหิตจาง ให้เอาผลมะนาวผ่าซีก บีบเอาเฉพาะน้ำ ผสมกับน้ำหวานแล้วปรุงด้วยเกลือทะเลพอสมควร ใส่น้ำแข็ง ใช้รับประทานบ่อยๆ เป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง และทำให้มีฟิวพรรณผุดผ่องมีน้ำมีนวล
          64. แก้เหน็บชา ให้เอาลูกมะนาวเท่าอายุคนป่วย ใช้มีดบางคมๆ ผ่าสองเอาหนึ่ง ส่วนที่ไม่เอาแล้วแต่เราจะเอาไปทำอะไร ให้เอาน้ำตาลทรายขาว 1 ลิตร เกลือ 1 ลิตร เอาน้ำ 4 ลิตร ต้มให้เดือด ยกลง พอเย็นหน่อยก็เทใส่ไห แล้วจึงเอามะนาวส่วนที่เอาเทลงดองไว้ในไห ปิดปากไห ไปฝังไว้ในข้าวเปลือก 7 วัน แล้วเอาน้ำมากินให้หมด แล้วเอากากไปตำตากแดดให้แห้ง เอามากินให้หมด โรคเหน็บชาจะหายไป
          65. แก้ร้อนในกระหายน้ำ มะนาวสามารถแก้ความกระหายได้ดี กินน้ำมะนาวใส่น้ำแข็งแล้ว จะรู้สึกชุ่มคอ

          66. แก้อ่อนเพลีย - ใช้มะนาว 1 ผลครึ่ง บีบเอาแต่น้ำใส่แก้ว แล้วใส่น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำให้ได้ประมาณครึ่งแก้ว กะให้หวานพอดี ดื่มให้หมด จะรู้สึกกระชุ่มกระชวยดี - เวลาฟื้นจากไข้ทานอาหารไม่อร่อยหรือไม่อยากทานอะไรเลยต้องแก้ด้วยอาหารที่มีรสเปรี้ยว ใส่มะนาวหรือชงน้ำมะนาวดื่ม หรือกินมะนาวจิ้มยาหอม หรือกินมะนาวจิ้มเกลือ
          67. เป็นยาอายุวัฒนะ - ใช้มะนาว 1 ลูกผ่าออกเอาเม็ดท้อง แล้วคั้นเอาน้ำชงกับน้ำตาล 2 ช้อน และน้ำร้อนพอควร ทำให้แข็งแรงและชุ่มชื่นในลำคอ - ใช้มะนาว 50 ผล น้ำผึ้ง 1 ขวดขาว พริกไทยร่อนครึ่งลิตรเล็ก ตำพริกไทยให้ป่น ใส่ผ้าขาวบางห่อ ใส่โหลดองรวมกันประมาณ 3 วัน นำมากินได้เป็นยาอายุวัฒนะ
          68.ยาเจริญอาหาร เอามะนาว 30 ลูกผ่าซีกทั้งเปลือกแล้วเอายาดำหนัก 5 บาท ใส่ดีเกลือเล็กน้อย หร้อมกับเกลือแกงอีกพอประมาณจนรู้สึกว่ามีรสเค็ม เอายาทั้งหมดใส่ขวดโหลดองไว้ประมาณ 3 คืน รับประทานมีสรรพคุณทำให้เป็นยาระบายถ่ายพยาธิ และเจริญอาหาร
          69. แก้ความดัน เอาใบมะนาว 108 ใบ ต้มรับประทานแก้โรคความดันต่ำและสูง
          70. แก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ (โรครูมาติซั่ม) ให้ดื่มน้ำมะนาว ดังนี้ วันที่ 1 ให้ดื่มน้ำมะนาว 2 ผล วันที่ 2 ให้ดื่มน้ำมะนาว 4 ผล แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง วันที่ 3 ให้ดื่มน้ำมะนาว 6 ผล แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง ให้เพิ่มมะนาวเรื่อยๆจนถึงวันที่ 10 ซึ่งใช้มะนาว 20 ผล แบ่งให้วันละ 5 ครั้ง วันที่ 11 ให้ดื่มน้ำมะนาวใหม่ 2 ผล วันที่ 12 ให้ดื่มน้ำมะนาวใหม่ 4 ผล แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง ให้เพิ่มมะนาวเรื่อยๆจนถึงวันที่ 20 ซึ่งใช้มะนาว 20 ผล แบ่งให้วันละ 5 ครั้ง
          71. ลดความอ้วน การดื่มเครื่องดื่มต้องใส่น้ำตาลน้อยที่สุด และควรดื่มวันละ 8-10 แก้วทุกวัน ตื่นเช้าควรดื่มน้ำมะนาว 1 ผล ในน้ำอุ่นและขนมปังไม่เกิน 1 แผ่น ก่อนอาหารทุกมื้อควรดื่มน้ำมะนาวครึ่งผลผสมน้ำเย็น ก่อนอาหารกลางวันและอาหารเย็นจะช่วยให้อิ่ม อย่าให้ดื่มขณะที่ทานอาหาร ถ้ารู้สึกหิวก่อนเวลาอาหารไม่ว่ามื้อใด ให้รับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว หรือน้ำส้ม น้ำมะนาวสักแก้ว

มะนาวใช้ในครัวเรือน
   + หุงข้าวให้ขาวและอร่อย บีบน้ำมะนาว 2-3 ช้อนในข้าว แล้วนำไปซาวข้าว เมื่อหุงเสร็จข้างจะขาว สะอาด กินอร่อย ไม่ออกรสมะนาวเลย
   + นิ้วมือเวลาเด็ดผักหรือหั่นผัก เนื้อใกล้ๆเล็บมือจะเป็นสีดำมองดูน่าเกลียด ใช้มะนาวถูจะแก้ได้
   + เวลาใช้มีดผ่าปลีกล้วย มีดจะเป็นสีม่วงคล้ำ ใช้มะนาวผ่าซีกถูตามใบมีด มีดจะสะอาดดังเดิม
   + ทอดไข่เจียวให้ฟูและนิ่ม ขณะตีไข่ให้ใส่มะนาว 4-5 หยด ไข่จะฟูและนิ่ม
   +  การเชื่อมกล้วยหักมุกให้น่ารับประทาน พอน้ำตาลเดือดเป็นยางมะตูม ให้บีบมะนาวครึ่งซีกตาม แต่กล้วยมากหรือน้อยจะช่วยให้กล้วยใสน่าทาน
   + ถ้าต้มปลาสด ต้องการให้ปลาคงรูปไม่เละ ไม่มีกลิ่นคาว ควรบีบมะนาวลงไปสักนิดหน่อย
   + ใช้มะนาว 2-3 ผล แทรกไว้ในข้าวสาร จะช่วยป้องกันมอดได้
   + เปลือกมะนาวใช้เช็ดภาชนะ ทองเหลือง ทองแดง เครื่องเงิน เครื่องนาค เครื่องเงินจะใหม่ เงางามสุกใสขึ้น
   + ฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ 2-3 ลูกใส่ในน้ำเย็น 1 ป๋อง ประมาณ 10 ลิตร เติมการบูร 2 แท่ง ตั้งทิ้งไว้ในห้องที่ทาสีใหม่ๆ ปิดประตู หน้าต่างให้หมด น้ำมะนาวและการบูรจะช่วยดูดกลิ่นสีได้อย่างดี
   + ผ้าที่เปื้อนน้ำหมาก เปื้อนหมึก ใช้น้ำตาลทรายเล็กน้อย โรยตรงรอยเปื้อนหยดน้ำลงไปพอชุ่ม แล้วถูด้วยมะนาวจะลบรอยเปื้อนได้
   + เตารีดร้อนจัดรีดผ้าขาวจะทำให้ผ้าเหลือง ให้เอาน้ำมะนาวทาที่เตารีด ก่อนรีดผ้าจะแก้ได้
   + ต้มผ้าให้สะอาด ฝานมะนาว 2-3 ชิ้น ใส่ด้วย ช่วยให้ผ้าสะอาด
   + ใช้มะนาว เกลือป่น ถูบริเวณที่เสื้อขาวเปื้อนเลือด ซักด้วยน้ำเย็นจะออกหมด
   + เครื่องใช้ที่เป็นหนังทิ้งไว้นานหลายปีทำให้แข็งกระด้าง เอาน้ำมะนาวขัดถู ทำให้หนังนิ่มแล้วใช้ยาขัดอีกที จะทำให้ดูใหม่ขึ้น

มะนาวนอกฤดูกาล

    การบังคับมะนาวให้ออกผลนอกฤดูกาล มีดังนี้คือ
การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว การที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้อง กำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออก ทิ้งไปเสียก่อน การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไป ได้บางส่วนแล้ว ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ ที่ค่อนข้างสม่ำเสมออีกด้วย ผลมะนาวที่ออกจากกิ่งใหม่จะเป็นผลที่มีคุณภาพดีที่สุด ส่วนผลที่ออกมาจากกิ่งเก่าจะมีคุณภาพด้อยลงมา และผลที่มีคุณภาพต่ำสุด คือผลที่ติดบริเวณต้น ภายหลังจากตัดแต่งแล้ว ดอกและผลอ่อน ที่เหลือก็สามารถใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือฮอร์โมนมาช่วยได้ หรืออาจกระทำการพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อกำจัดดอกและผลอ่อนให้หลุดร่วง ไปก่อนแล้วจึงดำเนินการตัดแต่งกิ่งในภายหลัง พร้อมทั้งกำจัดผลที่ยังเหลือตกค้างอยู่ออกไป การตัดแต่งกิ่งเพื่อกำจัดดอก และผลอ่อนพร้อมทั้งการกระตุ้นให้เกิดยอดใหม่นั้น ไม่ควรตัดลึกมาก ควรจำกัดอยู่ที่ปลายกิ่งระดับ 5-10 ซม. หากตัดลึกมากแล้วจะเกิดกิ่งกระโดงแทน ทำให้เสียโอกาสการออกดอกไป
มะนาวนอกฤดู
    สารควบคุมการเจริญเติบโตเหล่านี้เท่าที่มีรายงานผลการทดลองใช้เพื่อการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาวนั้นมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ NAA เข้มข้น 2,000 ppm 1/ สามารถปลิดดอกและผลอ่อนในระยะกลีบดอกโรย (petal fall) และระยะที่ผลมีอายุ 2-3 สัปดาห์ได้ดีกว่าระยะที่เป็นตาดอกและระยะดอกบาน อย่างไรก็ตาม การใช้ NAA ในความเข้มข้นระดับนี้ ไม่สามารถกำจัดดอก และผลอ่อนให้หมดไปได้ตามต้องการ การใช้ความเข้มข้นที่สูงมากกว่านี้ อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษกับต้นมะนาวได้ สารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดหนึ่งที่ใช้ในการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว

สูตรปุ๋ยบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดูกาล
มูลไก่ 5 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 3 กิโลกรัม
ยาเส้นฉุน (ยาสูบ) 1 กิโลกรัม
น้ำหมัก พค.2 จำนวน 100 ซีซี.
น้ำ 100 ลิตร




วิธีการทำและการนำไปใช้
นำเอาส่วนผสมทั้งหมดผสมเข้าด้วยกัน แล้วหมักทิ้งไว้ 1 คืน

นำส่วนผสมที่ได้หมักไว้ จำนวน 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดพ้นในช่วงเช้าติดต่อกัน 3 วัน อีกประมาณ 10-15 วันดอกก็จะออก และเราก็เตรียมรับรายได้จากมะนาวนอกฤดูกาลกันได้เลย

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ปฏิทินดูแลมะนาว

ปฏิทินปฏิบัตดูแลรักษามะนาว



ช่วงเวลาการเจริญเติบโตของมะนาว

    ม.ค.-ก.พ.          มี.ค.-เม.ย.            พ.ค.-ก.ค.                     ส.ค.-ต.ค.           พ.ย.-ธ.ค.
    ออกใบอ่อน       ออกช่อดอก       ผลเจริญเติบโต          เก็บเกี่ยวผลผลิต    ตัดแต่งกิ่ง

    ฉีดพ่นสารเคมี     ฉีดพ่นสารเคมี       ให้ปุ๋ยเคมีสูตร                       -                 ใส่ปุ๋ยคอก
    และปุ๋ยเคมี                                                                                       สูตร 15-15-15
    ป้องกันกำจัด      ป้องกันกำจัดโรค      13-13-21 
    โรคและแมลง      และแมลง                                           

    ให้น้ำสม่ำเสมอ    ให้น้ำสม่ำเสมอ    ฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน
                                                   กำจัดโรคและแมลง                    -                      -
        -                  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร
                             15-15-15                         -                            -                      -

การดูแลหลังการเก็บเกี่ยวมะนาว

ดูแลมะนาวหลังการเก็บเกี่ยว
 วิธีการเก็บรักษามะนาว ให้สามารถเก็บไว้ได้นาน อย่างแรกต้องคัดผลมะนาวเสียก่อน โดยเลือกเอาผลมะนาวที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน และไม่มีรอยช้ำหรือเน่า และควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วย จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกช์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้นานประมาณ 5 นาที แล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงทำการคัดขนาดและบรรจุเข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาดต้องการ

การเก็บเกี่ยวมะนาว

เก็บมะนาว

         การเก็บผลมะนาว ถ้าต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนัก ก็เก็บโดยใช้มือปลิด แต่ถ้าต้นสูง นิยมเก็บโดยใช้มีดหรือตะขอผูกติดกับด้ามไม้รวกยาว ๆ คล้อง และกระตุกผลมะนาวลงมา แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลมะนาวที่มีคุญภาพ ไม่บอบช้ำ ก็ควรจะใช้ตะกร้อหวายในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตได้จากด้านขั้วของผลมะนาว เริ่มมีสีเหลืองเล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหายในการขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้ขายได้ไม่นานผลเน่าเสียหายได้เร็ว

หนอน แมลง ศัตรูของมะนาว

ศัตรูของมะนาว ได้แก่
หนอนชอนใบ

1. หนอนชอนใบ จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในช่วงระยะแตกใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมองเห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติดผล ป้องกันกำจัดโดยหมั่นตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อนอ่อน กรณีที่มีระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย หากพบมากใหัฉีดพ่นด้วยสมุนไพรไล่แมลง เช่น น้ำส้มควันไม้ สารสะเดา หรือสมุนไพรอื่น ๆ
หนอนกินใบ หนอนแก้ว

2. หนอนกินใบ (หนอนแก้ว) จะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว เราสามารถ ป้องกันกำจัดโดยหมั่นตรวจดูตามใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทำลาย
เพลี้ยไฟ
3. เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลของมะนาว การทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับตั้งแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะ   การระบาดจะขึ้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และ  ระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะปรากฏรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผลและก้นผล หรือเป็นขีดสี เทาตามความยาวของผล กำจัดโดยเด็ดผลที่แคระแกร็นทิ้ง และทำลายให้พ้นจากบริเวณต้นมะนาว
ไรแดง

4. ไรแดง
ลักษณะใบจะเปลี่ยนเป็น  สีน้ำตาลและหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในเวลาต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงหล่นในที่สุด กำจัดโดยฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน ในตอนเช้าหรือตอนเย็นเพื่อป้องกันอาการใบไหม้

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

โรคมะนาวlโรคที่สำคัญของมะนาว

โรคที่สำคัญของมะนาว
โรคแคงเกอร์
    1. โรคแคงเกอร์ citrus canker
    ลักษณะอาการ จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่ง ก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลมๆ แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟู นูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะแตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
โรคแคงเกอร์
    การป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์ พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และ ป้องกันแมลงที่มีผลเป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน
    2. โรคราดำ Sooty mold
    ลักษณะอาการ ใบ กิ่ง ก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรกและกระด้างทำให้ผลมะนาวไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
โรคราดำ

โรคราดำ

    การป้องกันกำจัด รีบทำลายทิ้ง ส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ หรือใช้สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่น เพื่อกำจัดแมลงประเภทปากดูดชึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคราดำ
   3.โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว)
ลักษณะอาการ ใบมะนาวจะเป็นด่าง และมีสีเหลืองหรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบของมะนาวจะมีขนาดเล็กลง จากนั้นใบและยอดจะเริ่มแห้งตาย ผลของมะนาวจะมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม 
โรคกรีนนิ่ง

การป้องกันและกำจัดโรคกรีนนิ่ง เกษตรกรควรทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มี ธาตุสังกะสี และแมกนีเชียม ควรปรับสภาพความเป็นกรดและด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5
    4. โรคยางไหล
    ลักษณะอาการ มีอาการยางไหลออกมาบริเวณลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกของต้นมะนาวจะเริ่มเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้
โรคยางไหล

    การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งกิ่งและการกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็ควรเผาทำลายเสีย

    5. โรครากเน่าและโคนเน่า
    ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเริ่มเหลืองและร่วงหล่น
โคนเน่า

รากเน่า

    การป้องกันกำจัด อย่าให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน