วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตั๊กแตนโลกัสต้า (Locusta locust)

ตั๊กแตนโลกัสต้า (Locusta Locust)

ขื่อวิทยาศาสตร์ - Locusta migratoria Mani-lensis (Meyen)

วงศ์ - Acrididae

อันดับ - Orthoptera

รูปร่างลักษณะ
เป็นตั๊กแตนขนาดลำตัวปานกลาง ลำตัวจะมีสีน้ำตาลหรือสีเขียวปนเหลือง หนวดสั้นแบบเส้นด้าย ความยาวของลำตัว 6-7 ซม. สำหรับตั๊กแตนตัวอ่อน เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีตัวสีดำ ส่วนหัวโตกว่าลำตัวมาก และมีการลอกคราบ 5-6 ครั้ง ซึ่งการลอกคราบแต่ละครั้งใช้เวลา 5-7 วัน ก่อนเป็นตัวเต็มวัยในรอบ 1 ปี มีการผสมพันธุ์และวางไข่ 3-4 ครั้ง (generation)

ลักษณะการทำลาย

เป็นตั๊กแตนที่สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว การทำลายรุนแรงและมักเคลื่อนย้ายเป็นฝูง ทำความเสียหายพืชผลได้ถึง 100% ในบริเวณที่ตั๊กแตนฝูงนี้ผ่านไป สำหรับตัวเต็มวัยจะบินเคลื่อนย้ายรวมกันเป็นฝูงขยายวงกว้างออกไป เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะระบาดรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดและข้าวฟ่างที่ปลูกใกล้เคียงกับแปลงนา

พืชอาหาร

ได้แก่ข้าวโพด อ้อย ข้าว ข้าวฟ่าง กล้วย มะพร้าว ถั่วเหลือง หม่อน ละหุ่ง ไผ่ ฝ้าย หญ้าขน ยางพารา เป็นต้น

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 3-4 ครั้ง ดังนั้นจะพบตั๊กแตนตัวอ่อนในช่วงต้นฤดูฝน ส่วนการเกิดการระบาดอย่างรุนแรง ประมาณเดือนสิงหาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน โดยตั๊กแตนจะมีการรวมกลุ่มเคลื่อนย้ายเป็นฝูง

ศัตรูธรรมชาติ

ได้แก่เชื้อรา ไส้เดือนฝอย ไร ปลา แมลงวันขน มด ต่อ นก แตนเบียนไข่ Scelio sp.

การป้องกันและกำจัด
แบ่งได้ เป็น 3 วิธี

    โดยวิธีกล โดยใช้เครื่องกับดักตัวอ่อน ได้แก่ ตาข่ายและการใช้ไฟคาดศรีษะ (จับด้วยมือ) เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม
    โดยชีววิธี โดยการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แตนเบียนไข่ Scelio sp. และตัวต่อจะช่วยลดประชากรของตั๊กแตน ให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจ
    การใช้สารเคมี เมื่อเกิดการระบาดอย่างรุนแรงเกินกว่าระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ (ETL)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น