โรคของข้าวโพด
โรคข้าวโพด |
อาการ เป็นโรคนี้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของพืช ในระยะของต้นกล้าต้นจะแห้งตาย ไม่ให้ผลผลิตในต้นโตพันธุ์ที่ อ่อนแอต่อโรค สามารถให้ฝักได้ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ บ้างไม่ได้เมล็ดเลย ต้นที่เป็นโรคลักษณะสีใบจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อนเป็นทางยาวจากโคนถึงปลายใบ อาจยาวติดต่อกันหรือขาดเป็นช่วง สามารถเห็นผงสปอร์สีขาว ของเชื้อ สาเหตุตามราอยแผลบนใบในช่วงเช้าที่มีอากาศเย็นและความชื้นสูง ต้นที่มีอาการรุนแรง ส่วนยอดและดอกแตก ออกเป็นพุ่ม ก้านฝักยาวผิดปกติจำนวนฝักมากกว่าปกติแต่ไม่สมบูรณ์ เมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา ชื่อพีโรโนสเคลอโรสปอรา
การแพร่ระบาด โรคจะแพร่ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว เป็นช่วงที่อากาศมีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ เชื้อราสร้างสปอร์ปลิวไปตามและเข้าทำลายข้าวโพดต้นปกติได้ต่อไปเรื่อย ๆ และสามารถเข้าทำลายพืชอาศัยชนิดอื่น ได้ เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพง แขม อ้อยเลา หญ้าคาหลวง โดยที่เชื้อสามารถพักตัวในรูปของสปอร์หนาในฤดูปลูกต่อไปได้
การควบคุม
1. หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงหรือแหล่งที่มีโรคระบาดมาปลูก หรือเป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูปลูกต่อไป
2. หมั่นตรวจดูไร่อยู่เสมอ หากพบต้นใดเริ่มแสดงอาการของโรค ให้จัดการถอนและเผาทำลายทันที เพื่อป้องกัน เชื้อระบาดไปยังต้นอื่น
3. ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก่อนปลูก
2. โรคใบไหม้
อาการ ระยะเริ่มแรกเป็นแผลจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาแผลขยายออกตามแนวทางยาวของใบ กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาล ในข้าวโพดที่เป็นโรครุนแรงจุดแปลจะขยายรวมตัวกัน กลายเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้แห้งตาย ในที่สุด นอกจากนี้เกิดจุดแผลได้ บนลำต้น กาบใบ ฝัก และเมล็ด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราชื่อเฮลมินโทสปอร์เรียม
การแพร่ระบาด โรคสามารถถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค โดยทางลมและฝน นอกจากนี้พบว่า หญ้าเดือยเป็นพืชอาศัยชนิดหนึ่งของเชื้อรานี้
การควบคุม
1. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรคมาปลูก
2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เพราะเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค
3. ทำลายพืชอาศัย และเศษซากหลังการเก็บเกี่ยว
3. โรคราสนิม
อาการ เกิดตุ่มแผลทั้งด้านบนใบและใต้ใบ เริ่มแรกมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ เมื่อแผลแก่ ตุ่มแผลจะแตกออก ภายในมีผงเชื้อราสีสนิมเหล็ก
สาเหตุ เกิดจากเชื้อราชื่อ พักซิเนีย
การแพร่ระบาด ผงสปอร์สีเหล็กสามารถปลิวไปตามลม และอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในดิน ในรูปของ สปอร์ที่มีผนังหนา
การควบคุม 1. หลีกเลี่ยงปลูกข้าวโพดในแหล่งที่มีโรคระบาด
2. เมื่อพบโรคให้เผาทำลาย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น