วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การปลูกผักบุ้งจีน

การปลูกผักบุ้งจีน

                    +ประวิติความเป็นมาผักบุ้ง      
                    +ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักบุ้ง
                    +พันธุ์ผักบุ้ง       
                    +การป้องกันศัตรูพืชของผักบุ้ง
                    +ลักษณะการเจริญเติบโตของผักบุ้ง 
                    +การปลูกผักบุ้ง
                    +การป้องกันโรคในผักบุ้ง 
                    +สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกผักบุ้ง
                    +การดูแลรักษาผักบุ้ง    
                    +การตลาดของผักบุ้ง
                                +ประโยชน์ผักบุ้ง

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเก็บเกี่ยวข้าวโพด l การเก็บรักษาข้าวโพด

การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาข้าวโพด
ข้าวโพดจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อสังเกตุเห็นว่า ฝักข้าวโพดจะแก่จัดและเก็บเกี่ยวได้เมื่อเปลือกหุ้มฝักเริ่มมีสีฟาง  ทางที่ดีควรปล่อยข้าวโพดทิ้งไว้ในแปลงให้แห้งดีเสียก่อน  เพื่อทุ่นเวลาในการตากและสะดวกในการเก็บรักษา โดยเฉลี่ยแล้วข้าวโพดไร่พันธุ์ที่ใช้ปลูกอยู่ในประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน


          ในการเก็บเกี่ยวข้าวโพด ชาวไร่ทั่ว ๆ ไปยังใช้แรงคนเก็บ โดยหักฝักที่แห้งแล้วออกจากต้น แกะเปลือกหุ้มฝักออกหรือจะเอาไว้แกะเปลือกทีหลังก็ได้ การใช้เครื่องทุ่นแรงเก็บเกี่ยวข้าวโพดยังมีน้อยมากในประเทศไทย  ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องมือมีราคาแพง และมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ เพราะพันธุ์ที่ชาวไร่ปลูกมีความสูงของลำต้นและฝักไม่เท่ากัน   นอกจากนั้น ต้นยังหักล้มมากอีกด้วย
          หลังจากเก็บฝักข้าวโพดและปอกเปลือกออกแล้ว   ควรตากฝักไว้ภายในโรงเรือน  หรือทำแคร่เตี้ย ๆ  กลางแจ้ง มีโครงไม้สำหรับใช้แฝกหรือผ้าพลาสติกคลุมเวลาฝนตกได้  ถ้ามีข้าวโพดเป็นจำนวนมากควรสร้างฉางขนาดกว้างพอสมควร  ยกพื้นสูงไม่ต่ำว่า 50 เซนติเมตร  พื้นเป็นไม้ระแนง  ด้านข้างกรุด้วยลวดตาข่ายหรือไม้ระแนงเช่นเดียวกับพื้น ทั้งนี้เพื่อให้ลมโกรกผ่านเข้าออกได้ ด้านบนเป็นหลังคากันฝน
          เมื่อฝักข้าวโพดแห้งดีแล้ว  จึงทำการกะเทาะเมล็ด  ไม่ควรกะเทาะเมล็ดเมื่อความชื้นยังสูงอยู่ จะทำให้เมล็ดแตกมาก เครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพดในปัจจุบัน มีทั้งแบบมือหมุน และแบบที่หมุนด้วยเครื่องยนต์ เครื่องกะเทาะเมล็ดเหล่านี้สร้างในประเทศ ราคาจึงไม่แพงนัก  เครื่องกะเทาะใหญ่ ๆ อาจกะเทาะได้ถึง 1000 ตัน/ชั่วโมง
          เมล็ดที่กะเทาะออกจากฝักแล้ว  ถ้ายังแห้งไม่สนิทควรตากต่อให้แห้ง ก่อนเก็บเข้ากระสอบควรมีความชื้นในเมล็ดไม่เกิน 15% จากนั้นอาจนำไปจำหน่ายหรือเก็บในยุ้งฉางต่อไป  ถ้าจะเก็บไว้นานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ส่วนของเมล็ดที่เอาไว้ทำพันธุ์  ควรคลุกยากันเชื้อรา ออโทโซด์75 หรือ ซีเรแซนเอ็ม ในอัตราประมาณ 1 กรัม/เมล็ดข้าวโพด 1 กิโลกรัม และใช้ยาป้องกัน และกำจัดแมลงดีดีทีผงชนิด 75% ในอัตรา 1 กรัม/เมล็ดข้าวโพด 10 กิโลกรัมคลุกไปด้วย  สำหรับข้าวโพดเมล็ดที่เก็บไว้เลี้ยงสัตว์หรือเก็บไว้จำหน่ายนาน ๆ  ควรรมยาพวกเมทิลโบรไมด์เดือนละครั้ง

โรคของข้าวโพด

โรคของข้าวโพด
โรคข้าวโพด

1. โรคราน้ำค้าง หรือ โรคใบลาย
อาการ     เป็นโรคนี้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตของพืช ในระยะของต้นกล้าต้นจะแห้งตาย ไม่ให้ผลผลิตในต้นโตพันธุ์ที่ อ่อนแอต่อโรค สามารถให้ฝักได้ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ บ้างไม่ได้เมล็ดเลย ต้นที่เป็นโรคลักษณะสีใบจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อนเป็นทางยาวจากโคนถึงปลายใบ อาจยาวติดต่อกันหรือขาดเป็นช่วง สามารถเห็นผงสปอร์สีขาว ของเชื้อ สาเหตุตามราอยแผลบนใบในช่วงเช้าที่มีอากาศเย็นและความชื้นสูง ต้นที่มีอาการรุนแรง ส่วนยอดและดอกแตก ออกเป็นพุ่ม ก้านฝักยาวผิดปกติจำนวนฝักมากกว่าปกติแต่ไม่สมบูรณ์ เมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย
สาเหตุ     เกิดจากเชื้อรา ชื่อพีโรโนสเคลอโรสปอรา
การแพร่ระบาด     โรคจะแพร่ระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว เป็นช่วงที่อากาศมีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ เชื้อราสร้างสปอร์ปลิวไปตามและเข้าทำลายข้าวโพดต้นปกติได้ต่อไปเรื่อย ๆ และสามารถเข้าทำลายพืชอาศัยชนิดอื่น ได้ เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพง แขม อ้อยเลา หญ้าคาหลวง โดยที่เชื้อสามารถพักตัวในรูปของสปอร์หนาในฤดูปลูกต่อไปได้
การควบคุม   
1. หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงหรือแหล่งที่มีโรคระบาดมาปลูก หรือเป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูปลูกต่อไป
2. หมั่นตรวจดูไร่อยู่เสมอ หากพบต้นใดเริ่มแสดงอาการของโรค ให้จัดการถอนและเผาทำลายทันที เพื่อป้องกัน เชื้อระบาดไปยังต้นอื่น
3. ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดก่อนปลูก

2. โรคใบไหม้
อาการ     ระยะเริ่มแรกเป็นแผลจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาแผลขยายออกตามแนวทางยาวของใบ กลางแผลมีสีเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาล ในข้าวโพดที่เป็นโรครุนแรงจุดแปลจะขยายรวมตัวกัน กลายเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้แห้งตาย ในที่สุด นอกจากนี้เกิดจุดแผลได้ บนลำต้น กาบใบ ฝัก และเมล็ด
สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราชื่อเฮลมินโทสปอร์เรียม
การแพร่ระบาด     โรคสามารถถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค โดยทางลมและฝน นอกจากนี้พบว่า หญ้าเดือยเป็นพืชอาศัยชนิดหนึ่งของเชื้อรานี้
การควบคุม   
1. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรคมาปลูก
2. ในแหล่งที่มีโรคระบาด ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เพราะเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค
3. ทำลายพืชอาศัย และเศษซากหลังการเก็บเกี่ยว

3. โรคราสนิม
อาการ     เกิดตุ่มแผลทั้งด้านบนใบและใต้ใบ เริ่มแรกมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ เมื่อแผลแก่ ตุ่มแผลจะแตกออก ภายในมีผงเชื้อราสีสนิมเหล็ก
สาเหตุ     เกิดจากเชื้อราชื่อ พักซิเนีย
การแพร่ระบาด     ผงสปอร์สีเหล็กสามารถปลิวไปตามลม และอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในดิน ในรูปของ สปอร์ที่มีผนังหนา
การควบคุม     1. หลีกเลี่ยงปลูกข้าวโพดในแหล่งที่มีโรคระบาด
2. เมื่อพบโรคให้เผาทำลาย

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตั๊กแตนโลกัสต้า (Locusta locust)

ตั๊กแตนโลกัสต้า (Locusta Locust)

ขื่อวิทยาศาสตร์ - Locusta migratoria Mani-lensis (Meyen)

วงศ์ - Acrididae

อันดับ - Orthoptera

รูปร่างลักษณะ
เป็นตั๊กแตนขนาดลำตัวปานกลาง ลำตัวจะมีสีน้ำตาลหรือสีเขียวปนเหลือง หนวดสั้นแบบเส้นด้าย ความยาวของลำตัว 6-7 ซม. สำหรับตั๊กแตนตัวอ่อน เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีตัวสีดำ ส่วนหัวโตกว่าลำตัวมาก และมีการลอกคราบ 5-6 ครั้ง ซึ่งการลอกคราบแต่ละครั้งใช้เวลา 5-7 วัน ก่อนเป็นตัวเต็มวัยในรอบ 1 ปี มีการผสมพันธุ์และวางไข่ 3-4 ครั้ง (generation)

ลักษณะการทำลาย

เป็นตั๊กแตนที่สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว การทำลายรุนแรงและมักเคลื่อนย้ายเป็นฝูง ทำความเสียหายพืชผลได้ถึง 100% ในบริเวณที่ตั๊กแตนฝูงนี้ผ่านไป สำหรับตัวเต็มวัยจะบินเคลื่อนย้ายรวมกันเป็นฝูงขยายวงกว้างออกไป เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะระบาดรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดและข้าวฟ่างที่ปลูกใกล้เคียงกับแปลงนา

พืชอาหาร

ได้แก่ข้าวโพด อ้อย ข้าว ข้าวฟ่าง กล้วย มะพร้าว ถั่วเหลือง หม่อน ละหุ่ง ไผ่ ฝ้าย หญ้าขน ยางพารา เป็นต้น

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 3-4 ครั้ง ดังนั้นจะพบตั๊กแตนตัวอ่อนในช่วงต้นฤดูฝน ส่วนการเกิดการระบาดอย่างรุนแรง ประมาณเดือนสิงหาคม ตุลาคม และพฤศจิกายน โดยตั๊กแตนจะมีการรวมกลุ่มเคลื่อนย้ายเป็นฝูง

ศัตรูธรรมชาติ

ได้แก่เชื้อรา ไส้เดือนฝอย ไร ปลา แมลงวันขน มด ต่อ นก แตนเบียนไข่ Scelio sp.

การป้องกันและกำจัด
แบ่งได้ เป็น 3 วิธี

    โดยวิธีกล โดยใช้เครื่องกับดักตัวอ่อน ได้แก่ ตาข่ายและการใช้ไฟคาดศรีษะ (จับด้วยมือ) เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม
    โดยชีววิธี โดยการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แตนเบียนไข่ Scelio sp. และตัวต่อจะช่วยลดประชากรของตั๊กแตน ให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจ
    การใช้สารเคมี เมื่อเกิดการระบาดอย่างรุนแรงเกินกว่าระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ (ETL)

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แมลงศัตรูข้าวโพด

 แมลงและหนอน ศัตรูของข้าวโพด
สามารถคลิกที่คำอธิบายใต้รูปภาพเพื่อดูการกำจัดและวิธีป้องกันศัตรูของข้าวโพดแต่ละตัวได้
ตั๊กแตนโลกัสต้า (Locusta Locust)
ตั๊กแตนปาทังก้า (Bombay Locust)
หนอนกระทู้ข้าวโพด (Corn Army worm)
หนอนกระทู้หอม (Beet Army worm)
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid)
หนอนเจาะฝักข้าวโพด (Helicoverpa armigera corn)
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Corn Stem borer)
มอดดินข้าวโพด (ground weevil)

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การรดน้ำข้าวโพด l การให้น้ำข้าวโพด

ความต้องการน้ำของข้าวโพด

ความต้องการนํ้าของข้าวโพด
การรดน้ำ หรือ การให้น้ำข้าวโพด จะขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำของข้าวโพดดังต่อไปนี้ คือ
ความต้องการนํ้าของข้าวโพดในระยะต่างๆ ของข้าวโพดไม่เท่ากัน ในระยะแรกๆของการเจริญเติบโตของข้าวโพดต้องการนํ้าไม่มากนัก และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามอายุ และต้องการนํ้าสูงที่สุดในช่วงออกดอกและช่วงระยะต้นของการสร้างเมล็ด หลังจากนั้นการให้น้ำจะค่อยๆ ลดลง ดังนั้น ถ้าขาดน้ำในช่วงออกดอก จะทำให้ผลผลิตลดลงมามาก ต้องคาดคะเนวันปลูกเพื่อไม่ให้ข้าวโพดเจอแล้งตอนออกดอก โดยดูจากข้อมูลการตกและการกระจายของฝนภายในท้องถิ่นจากหลายๆ ปี และติดตามการพยากรณ์อากาศ จะช่วยในการตัดสินใจในการกำหนดระยะเวลาปลูกที่เหมาะสมได้ดีขึ้น

การใส่ปุ๋ยข้าวโพด

ใส่ปุ๋ยข้าวโพด

การใส่ปุ๋ย
การปลูกข้าวโพดในประเทศไทยมีการใช้ปุ๋ยน้อยมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำ ให้ผลผลิตข้าวโพดตํ่า
และราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งการขาดความรู้ในเรื่องการใส่ปุ๋ยในข้าวโพด จึงทำ ให้ผลผลิตดีขึ้นกว่าไม่ใส่ปุ๋ยปยุ๋ ที่จำเป็น คือ ปุ๋ยไนโตรเจน และ ฟอสฟอรสั ส่วนโปรแตสเซียมนั้นดินในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ขาดโปรแตสเซียม (ยกเว้นในดินทราย)
การใส่ปุ๋ยข้าวโพด

สูตรปุ๋ยและอัตราที่เหมาะสม ในแต่ละท้องถิ่นขึ้นกับการวิเคราะห์ดินและระดับผลผลิตที่ต้องการ
ในทางปฏิบัติเพื่อสะดวก แนะนำ ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 20-20-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ไร่
การใส่ปุ๋ยนั้นถ้าในขณะปลูกจะสะดวกที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงแนะนำ ว่า ควรใส่ปุ๋ยหลังจากดาย
หญ้า ซึ่งระยะนี้ข้าวโพดโตพอสมควรแล้ว พอที่จะคาดคะเนได้ว่าการปลูกข้าวโพดฤดูนี้จะล้มเหลว เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ฝนแล้ง ฯลฯ และอื่นๆ การใส่ปุ๋ยอาจกระทำ โดยการแซะดินให้ห่าง
จากโคนต้นข้าวโพด 1 คืบ ใส่ปุ๋ยแล้วกลบดิน