พันธุ์ข้าวโพด ที่ปลูกเพื่อวัตถุประสงค์แต่ละอย่างมีลักษณะไม่เหมือนกัน ส่วนที่ปลูกเพื่อใช้เมล็ดต้องใช้พันธุ์ที่มีผลิตผลของเมล็ดสูง แต่ส่วนที่ปลูกเพื่อตัดต้นสดไปหมัก หรือให้สัตว์กินโดยตรง มักจะใช้พันธุ์ที่มีลำต้นสูงหรือพันธุ์ที่มีการแตกกอมาก เพื่อจะได้ปริมาณต้นและใบมาก ส่วนข้าวโพดฝักอ่อนนั้น นิยมใช้พันธุ์ที่มีหลายฝักต่อต้น เช่น ข้าวโพดหวาน
พันธุ์ข้าวโพด
ข้าวโพดที่นิยมปลูกกันอยู่ทั่ว ๆ ไป อาจจำแนกพันธุ์ได้เป็น 2 พันธุ์ใหญ่ ๆ คือ
1. ข้าวโพดพันธุ์ลูกผสม (hybrids) นิยมปลูกในประเทศที่วิทยาการทางการเกษตรเจริญมากแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดพวกนี้มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ดี หรือเปลี่ยนแปรไปตามสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเพียงพอ ไม่กำจัดวัชพืช มีน้ำไม่พอ ข้าวโพด พวกนี้จะให้ผลิตผลไม่ดี นอกจากนั้น การใช้ข้าวโพดลูกผสมจะต้องซื้อเมล็ดใหม่มาปลูกทุกปี เพราะถ้าใช้เมล็ดเก่าเก็บจากไร่จะกลายพันธุ์ไป ข้าวโพดลูกผสมอาจเป็นพวกลูกผสมเดี่ยว (single cross) ลูกผสมคู่ (double cross) หรือ ลูกผสมสามทาง (three-way cross) ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่จำนวนสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นลูกผสมเดี่ยวก็มีสายพันธุ์ 2 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ ก x สายพันธุ์ ข) ลูกผสมคู่มี 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ ก x สายพันธุ์ ข) x (สายพันธุ์ ค x สายพันธุ์ ง) และลูกผสมสามทางมี 3 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ ก x สายพันธุ์ ข) x สายพันธุ์ ค ลูกผสมเดี่ยวโดยทั่วไป จะให้ผลิตผลสูงที่สุด แต่มีข้อเสียตรงที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตเมล็ดพันธุ์สูง
2. พันธุ์ผสมปล่อย (open-pollinated variety) พันธุ์ข้าวโพดชนิดนี้ หากได้รับการปรับปรุงพันธุ์อย่างดี อาจให้ผลิตผลได้ไม่แพ้พันธุ์ลูกผสม นอกจากนั้น พันธุ์นี้ยังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง แม้ดินฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปรไป ก็ยังให้ผลิตผลพอใช้ได้ นอกจากนั้น ชาวไร่ยังสามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 2-3 ปี หรือถ้ารู้จักคัดเลือกพันธุ์เอง อาจไม่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่อีกก็ได้ พันธุ์ข้าวโพดพวกนี้ อาจแยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
(1) พันธุ์ผสมรวม (composite) เป็นการรวมพันธุ์ หรือสายพันธุ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน วิธีรวมง่าย ๆ ก็โดยเอาเมล็ดจำนวนเท่า ๆ กันจากแต่ละพันธุ์หรือสายพันธุ์มารวมกันเข้า แล้วนำไปปลูกในแปลงอิสระห่างไกลจากข้าวโพดพันธุ์อื่น ๆ ปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติแล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดไว้ปลูกเป็นพันธุ์ต่อไป
(2) พันธุ์สังเคราะห์ (synthetics) เป็นพันธุ์ที่ได้จากการรวมสายพันธุ์ที่ได้รับการทดสอบการรวมตัว (combining ability) มาแล้ว วิธีการรวมสายพันธุ์อาจทำได้เช่นเดียวกับพันธุ์ผสมรวม
เมื่อพอเพียง แล้วจะเพียงพอ
วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554
พันธุ์ข้าวโพด
Pages
หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน
รายการบทความ
- การปลูกมะนาว (14)
- การทำนา (11)
- การปลูกข้าวโพด (9)
- วัชพืช (7)
- การปลูกกาแฟ (1)
- ศัตรูพืช (1)
คลังบทความ
-
▼
2011
(46)
-
▼
เมษายน
(33)
- การรดน้ำข้าวโพด l การให้น้ำข้าวโพด
- การใส่ปุ๋ยข้าวโพด
- การกำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด
- การเตรียมดินปลูกข้าวโพด
- ฤดูกาลปลูกข้าวโพด
- พันธุ์ข้าวโพด
- ความเชื่อเกี่ยวกับมะนาว
- ประโยชน์ของมะนาว
- มะนาวนอกฤดูกาล
- ปฏิทินดูแลมะนาว
- การดูแลหลังการเก็บเกี่ยวมะนาว
- การเก็บเกี่ยวมะนาว
- หนอน แมลง ศัตรูของมะนาว
- โรคมะนาวlโรคที่สำคัญของมะนาว
- การดูแลรักษามะนาว
- วิธีการปลูกมะนาว
- เปิดเผยกาแฟพันธุ์ใหม่ 2 สายพันธุ์
- ชนิดของข้าวโพด
- การปลูกข้าวโพด
- การเตรียมดินปลูกมะนาว
- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของมะนาว
- พันธุ์มะนาว
- การปลูกมะนาว
- การปลูกข้าว
- หญ้าชันกาด
- หญ้านกสีชมพู
- หญ้าแดง
- ขาเขียด
- ผักตบชวา
- ชนิดของวัชพืช
- วัชพืชในนาข้าว
- การทำนาข้าวล้มตอ
- ทำพันธุ์ข้าวของเราเอง
-
▼
เมษายน
(33)
เว็บที่เกี่ยวข้อง
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น